สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 385  ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวาง หรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2558 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 385 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 385 โดยโจทก์เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีทั้งสองดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ของศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 229 โดยโจทก์เป็นผู้เสียหาย คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกับประชาชนอื่นปิดถนนอันเป็นการกระทำเดียวกับที่จำเลยทั้งสามกับพวกถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาดังกล่าว โดยคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4218/2549 เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และปรากฏตามคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2208/2549 ของศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีนี้) เป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยทั้งสอง (จำเลยที่ 1 และที่ 3 คดีนี้) และสำหรับ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) อาจกระทำไปโดยเข้าใจโดยสุจริตว่ามีสิทธิทำได้เพราะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากขยะที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวนำไปฝังกลบ และทางนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) เป็นผู้นำถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร วางขวางถนน แม้ในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่ได้เป็นคู่ความก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นผู้เสียหาย จึงถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ และส่วนที่วันกระทำผิดตามฟ้องคือวันที่ 29 ธันวาคม 2546 แตกต่างจากคดีนี้นั้น ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าวันที่ 30 กันยายน 2546 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2547 มีกลุ่มประชาชนนำเต็นท์และสิ่งกีดขวางปิดกั้นถนน โดยอ้างว่าได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากกากอุตสาหกรรมทำให้น้ำเน่าเสีย การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากวันที่ 30 กันยายน 2546 ในคดีนี้ต่อเนื่องกันไปจนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 อันเป็นวันกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้และจำเลยทั้งสี่ (รวมถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้) ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3551/2550 ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกระทำเดียวและต่อเนื่องกันซึ่งเป็นประเด็นข้อเท็จจริงที่ตรงกัน ทั้งถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความเดียวกันกับในคดีนี้ และเมื่อคดีดังกล่าวทั้งหมดถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร